เมนู

อรรถกถาสังขารยมก


บัดนี้ เป็นการวรรณนาสังขารยมก อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงต่อจากสัจจยมกทรงรวบรวมธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น ที่
พระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมกเหล่านั้นไว้เป็นเอกเทศหนึ่ง ด้วย
สามารถแห่งธรรมที่จะสงเคราะห์ได้. แม้ในสังขารยมกนั้น พึงทราบ
ประเภทแห่งวาระที่เหลือ คือมหาวาระทั้งหลายมีปัณณัตติวาระเป็นต้น
และอันตรวาระเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ส่วนการแปลกกันในสังขารยมกนี้ มีดังนี้ ใน ปัณณัตติวาระ
ก่อน ปทโสธนวาระว่า รูปํ รูปกฺขนฺโธ, จกฺขุํ จกฺขฺวายตนํ,
จกฺขุํ จกฺขุธาตุ ทุกฺขํ ทุกฺขสจฺจํ
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระองค์ทรงปรารภแล้ว แสดง
แล้วในภายหลังฉันใด แม้สังขาร 3 เบื้องต้น พระองค์ไม่ทรงปรารภ
แล้วเหมือนอย่างนั้น ( แต่ ) ทรงแสดงจำแนกไว้ว่า อสฺสาสปสฺ-
สาสา กายสงฺขาโร = ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ชื่อว่า กายสังขาร

ดังนี้ เป็นต้น.
ในสังขาร 3 เหล่านั้น สังขารแห่งกาย ชื่อว่า กายสังขาร.
สังขารอันเป็นผลของกรัชกายอันเกิดแล้วจากเหตุนั่นแหละ
ชื่อว่า กายสังขาร เพราะคำว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น คือลมอัสสาสะ

ปัสสาสะ มีในกาย เนื่องด้วยกาย.
นัยอื่นอีก :- สภาวะใดอันปัจจัยย่อมกระทำพร้อม คือปรุงแต่ง
เหตุนั้นสภาวะนั้น ชื่อว่า สังขาร.
ถามว่า สังขารนั้นอันอะไรย่อมกระทำพร้อม คือปรุงแต่ง.
ตอบว่า สังขารนั้นอันกายย่อมปรุงแต่ง ก็สังขารนี้อันกรัชกาย
ย่อมปรุงแต่งราวกะเครื่องสูบปรุงแต่งลม แม้เมื่อเป็นอย่างนี้
( = ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ) กายสังขาร คือสังขารแห่งกาย อธิบายว่า
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันกายกระทำแล้ว.
ก็สภาพใดย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้นสภาพนั้น ชื่อว่า สังขาร
เพราะคำว่า " *ดูก่อนวิสาขะ ผู้มีอายุ บุคคลตรึกแล้วตรองแล้วก่อน
จึงพูดต่อภายหลัง เพราะเหตุนั้น วิตกและวิจาร จึงชื่อว่า วจี-
สังขาร "
ดังนี้.
ถามว่า อะไรเป็นสังขาร ตอบว่า วจีเป็นสังขาร สังขารแห่ง
วจี ชื่อว่า วจีสังขาร คำว่า วจีสังขารนี้เป็นชื่อว่าของหมวดสองแห่ง
วิตกและวิจาร อันเป็นสมุฏฐานแห่งการเปล่งวาจา.
ก็สภาวะใดอันปัจจัยย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้นสภาวะนั้น ชื่อว่า
สังขาร แม้ในบทที่สาม เพราะคำว่า " ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ
สัญญาและเวทนา มีในจิต เนื่องด้วยจิต "
ดังนี้นั่นแหละ.
ถามว่า อันอะไรย่อมปรุงแต่ง ตอบว่า อันจิตย่อมปรุงแต่ง.

สังขารแห่งจิต ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะกระทำฉัฏฐีวิภัตให้
ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัติ คำว่า จิตตสังขาร นี้ เป็นชื่อของเจตสิก
ธรรมทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุศฐานทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเว้น
วิตกและวิจารเสีย เพราะทรงถือเอาวิตกวิจารเป็นแผนกหนึ่ง โดยความ
เป็นวจีสังขาร.
บัดนี้พระองค์ทรงเริ่มปทโสธนวาระว่า กาโย กายสงฺขาโร
เป็นต้น ยมก 6 อย่าง คือ ยมก 3 อย่างในอนุโลมนัย 3 อย่าง
ในปฏิโลมนัย แห่งปทโสธนวาระนั้น ยมก 12 อย่าง คือ ยมก 6
อย่างในอนุโลมนัย 6 อย่างในปฏิโลมนัย เพราะกระทำมูลแห่งสังขาร
หนึ่ง ๆ ในปทโสธนมูลจักกวาระให้เป็นสอง.
ส่วนในสุทธสังขารวาระ ตรัสยมกทั้งหลายไว้โดยนัยเป็นต้นว่า
รูปํ ขนฺโธ, ขนฺโธ รูปํ, จกฺขุํ อายตนํ จกฺขุํ ดังนี้ ในวาระ
ทั้งหลาย มีสุทธักขันธวาระเป็นต้นฉันใด ก็ตรัสยมก 6 อย่าง ใน
สุทธิกวาระ แม้ทั้งปวง ฉันนั้น คือ ยมก 3 อย่างในอนุโลม 3
อย่าง ในปฏิโลม คือ มีกายสังขารเป็นมูลสอง มีวจีสังขารเป็นมูลหนึ่ง
โดยนัยเป็นต้นว่า กายสงฺขาโร วจีสงฺขาโร, วจีสงฺขาโร กาย
สงฺขาโร
ไม่ตรัสว่า กาโยสงฺขาโร, สงฺขาโร กาโย.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความที่แห่งยมก 6 อย่างเหล่านั้นไม่มีอยู่ด้วย
อำนาจแห่งบทหนึ่ง ๆ ในสุทธิกวาระ เนื้อความย่อมมีด้วยอำนาจการ

ชำระบทหนึ่ง ๆ ในสุทธิกวาระ รูปํ ขนฺโธ, ขนฺโธ รูปํ, จกฺขุํ
อายตนํ, อายตนํ จกฺขุํ
เพราะในขันธยมกเป็นต้น ทรงประสงค์
เอาขันธ์อันประเสริฐ มีรูปเป็นต้น อายตนะอันประเสริฐ มีจักขุเป็นต้น
ฉันใดในสังขารยมกนี้ ไม่มีเนื้อความว่า กาโย สงฺขาโร สงฺขาโร
กาโย
ฉันนั้น ส่วนเนื้อความอันหนึ่งว่า กาโยสงฺขาโร ย่อมได้ด้วย
บท 2 บท คือกายและสังขาร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า กาโย
สงฺขาโร สงฺขาโร กาโย
เพราะไม่มีเนื้อความว่า อัสสาสะ หรือ
ปัสสาสะ ด้วยอำนาจการชำระบทหนึ่ง ๆ ในสุทธิกวาระ แต่พึงตรัสว่า
กาโย กายสงฺขาโร เป็นบทต้น แม้คำว่า กาโย กายสงฺขาโร
ย่อมไม่สมควรด้วยบทของกาย วจี และจิต เพราะความที่แห่งสังขาร
ทั้งหลายที่ท่านประสงค์เอาแล้ว ท่านไม่ถือเอาในที่นี้ นี้เป็นสุทธสังขาร-
วาระ อธิบายว่า ก็ในการชำระบท แม้เว้นจากเนื้อความการกล่าวย่อม
ไม่สมควร นัยนั้นท่านถือเอาแล้วในสุทธสังขารวาระ แต่ในปทโสธน-
วาระนี้ ยมก 6 อย่างย่อมสมควร เพราะกระทำมูลแห่งสังขารหนึ่ง ๆ
คือ กายสงฺขาโร วจีสงฺขาโร, วจีสงฺขาโร กายสงฺขาโร เป็นต้น.
ให้เป็นสอง เพราะความที่แห่งกายสังขารเป็นอย่างหนึ่งจากวจีสังขาร
คือคนละอย่างกับวจีสังขาร เป็นต้น วจีสังขารเป็นอย่างหนึ่งจากจิตต-
สังขารเป็นต้น และจิตตสังขารเป็นอย่างหนึ่งจากสังขารเป็นต้น ใน
ยมก 6 อย่างเหล่านั้น ย่อมได้ 3 อย่างเท่านั้น เพราะ นับ
แล้วไม่นับอีก ( อคฺคหิตคฺคหเณน )
เพราะเหตุนั้น จึงตรัส

ยมกไว้ 6 อย่าง คือ 3 อย่างในอนุโลมนัย 3 อย่างในปฏิโลมนัย
เพื่อแสดงยมก 3 อย่างนั่นแหละ อธิบายว่า ก็ในสุทธสังขารมูลจักกวาระ
ไม่ทรงถือเอาแล้วในที่นี้ พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระด้วย
ประการฉะนี้.
ก็ในอนุโลมแห่งนิทเทสวาระก่อน ชื่อแห่งสังขารทั้งหลายมีกาย
สังขารเป็นต้น ไม่ใช่กายเป็นต้น เพราะเหตุใด เหตุนั้นท่านจึงปฏิเสธ
ว่า โน = ไม่ใช่.
ในปฏิโลม คำถามว่า น กาโย นกายสงฺขาโร ดังนี้ ได้แก่
ย่อมถามว่า ธรรมใดไม่เป็นกาย ธรรมนั้นไม่เป็นแม้กายสังขารหรือ
คำตอบที่ว่า กายสังขารไม่เป็นกาย แต่เป็นกายสังขาร อธิบายว่า
กายสังขารไม่ใช่กาย กายนั้นก็ไม่ใช่กายสังขาร.
คำว่า อวเสสา อธิบายว่า หมวดสองแห่งสังขารที่เหลืออย่าง
เดียวก็หามิได้ แม้ธรรมชาติอันต่างด้วยสังขตบัญญัติที่เหลือแม้ทั้งหมด
อันพ้นแล้วจากกายสังขาร ก็ไม่ชื่อว่ากาย และไม่ชื่อว่ากายสังขาร
พึงทราบเนื้อความในคำวิสัชนาทั้งปวงโดยอุบายนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ปัณณัตติวาระ จบ

ก็ใน ปวัตติวาระ ในสังขารยมกนี้ ในอนุโลมนัยแห่งปุคคล-
วาระในปัจจุบันกาล ยมก 3 อย่างเท่านั้น คือ ยมกที่มีกายสังขาร
เป็นมูล 2 อย่าง ที่มีวจีสังขารเป็นมูล 1 อย่าง ย่อมได้ในคำถามว่า
กายสังขารกำลังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด วจีสังขารก็กำลังเกิดขึ้นแก่
บุคคลนั้น
หรือ ดังนี้ ยมก 3 อย่างนั้น ท่านถือเอาแล้ว แม้ใน
ปฏิโลมนัยก็ดี ในวาระทั้งหลายมีโอกาสวาระเป็นต้นก็ดี แห่งปวัตติวาระ
นั้น ก็มีนัยนี้ พึงทราบการนับยมกด้วยอำนาจยมก 3 อย่างในวาระ
ทั้งปวงในปวัตติวาระอย่างนี้.
ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความในปวัตติวาระนี้ พึงทราบลักษณะนี้
ดังต่อไปนี้.
ก็ในสังขารยมกนี้ ประเภทแห่งกาลมีปัจจุบันกาลเป็นต้น พึง
ถือเอาด้วยอำนาจปวัตติกาล ด้วยคำเป็นต้นว่า " ในอุปาทะขณะแห่ง
ลมอัสสาสะปัสสาสะ, ในอุปาทะขณะแห่งการเกิดขึ้นแห่งวิตก
วิจาร "
ดังนี้ ไม่พึงถือเอาด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิกาล พึงถือเอา
ด้วยอำนาจแห่งปฏิวัตติกาลด้วยคำเป็นต้นว่า กายสังขารกำลังเกิดขึ้น
ในที่นั้น คือ ในทุติยฌาน ตติยฌาน
แม้ในจตุตถฌาน ( ภูมิ )
พึงทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วยอำนาจโอกาสวาระ พึงทราบวินิจฉัยแห่ง
เนื้อความด้วยอำนาจแห่งลักษณะที่ได้นั้น ๆ ในปวัตติวาระนี้ ด้วย
ประการฉะนี้.

พึงทราบนัยมุขในปวัตติวาระนั้นดังต่อไปนี้ คำว่า เว้นวิตก
วิจาร
ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจทุติยฌาน และตติยฌาน บทว่า เตสํ
ได้แก่ ความพร้อมเพรียงแห่งทุติยฌานและตติยฌานของบุคคลเหล่านั้น
บทว่า กามาวจรานํ ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดแล้วในกามาวจรภูมิ แต่ว่า
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมไม่มีแก่เทวดาในรูปาวจรภูมิ รูปนั่นแหละ
ย่อมไม่มีแม้แก่เทวดาในอรูปาวจรภูมิ.
คำว่า เว้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ดังนี้ ท่านกล่าวหมาย
เอาการเกิดขึ้นแห่งวิตกวิจารของสัตว์ผู้เกิดแล้วในรูปภพและอรูปภพ.
คำว่า ในปฐมฌาน ในกามาวจร ดังนี้ ได้แก่ในปฐมฌาน
ที่เกิดขึ้นแล้วในกามาวจรภูมิ ก็ปฐมฌาน ในกามาวจรภูมินี้ ท่านถือ
เอาด้วยอำนายมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค) หาถือเอาด้วยอำนาจอัปปนา
ไม่ เพราะว่าหมวดสองแห่งสังขารนี้ย่อมเกิดขึ้นในจิตที่เป็นไปกับด้วย
วิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่ถึงอัปปนา.
คำนี้ว่า ในภังคขณะแห่งจิต ท่านกล่าวไว้แล้ว เพราะความ
ที่แห่งกายสังขารมีจิตเป็นสมุฏฐานแน่นอน เพราะจิตเมื่อเกิดอยู่นั่น-
แหละย่อมยังรูปหรืออรูปให้เกิดขึ้น เมื่อดับอยู่ย่อมไม่ยังรูปหรืออรูปให้
เกิดขึ้น.
คำว่า ครั้นเมื่อจิตดวงที่สองแห่งสุทธาวาสพรหมเป็นไปอยู่
ได้แก่ ภวังคจิต อันเป็นจิตดวงที่สองนับแต่ปฏิสนธิจิต คำนั้นท่าน
กล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ภวังคจิตนั้น แม้เมื่อปฏิสนธิจิตเป็นไปอยู่

ไม่เคยเกิดขั้นแล้วแก่พรหมในสุทธาวาสภูมินั้น แม้ก็จริง แต่วิบากจิต
ที่ไม่ปะปนกันย่อมเป็นตลอดกาลเพียงไร ชื่อว่า ไม่เคยเกิดขึ้น
ตลอดกาลเพียงนั้นนั่นแหละ, พรหมเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วด้วยวิบากจิต
ของฌานใด วิบากจิตของฌานนั้น เมื่อเกิดอยู่ แม้โดยร้อย ( ครั้ง )
บ้าง แม้โดยพัน ( ครั้ง ) บ้าง ชื่อว่า ปฐมจิต นั่นแหละ, หมายถึง
ภวังค์ที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต.
ส่วน อาวัชชจิต ในภวนิกันติ ( ชวนะ ) ไม่เป็นเช่นกับ
ด้วยวิบากจิต ( เพราะอาวัชชจิตเป็นกิริยาจิต ) ชื่อว่า ทุติยจิต
พึงทราบว่า คำว่า ทุติยจิต นั้น ท่านกล่าวหมายเอา อาวัชชนจิต
นั้น.
คำว่า แห่งบุคคลผู้พร้อมเพียงด้วยปัจฉิมจิต ได้แก่ พระ-
ขีณาสพผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่ไม่เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิ อันเป็นจิตดวง
สุดท้ายแห่งจิตทั้งปวง.
คำว่า ซึ่งปัจฉิมจิตอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร นี้ ท่านกล่าวแล้ว
ด้วยอำนาจจุติจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌานของรูปาวจรบุคคล และด้วย
อำนาจจุติจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌานของรูปาวจรบุคคล บทว่า เตสํ
ได้แก่ ความพร้อมเพรียงแห่งปัจฉิมจิตเป็นต้น ของบุคคลเหล่านั้น.
ท่านให้คำตอบรับว่า ถูกแล้ว ( ใช่ ) เพราะความดับไปใน
ขณะหนึ่ง ๆ ของกายสังขารพร้อมกับจิตตสังขารโดยแน่นอน มิได้ตอบ
รับรองเพราะการดับแห่งจิตตสังขารพร้อมกับกายสังขาร.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า จิตตสังขารแม้เว้นจากกายสังขารย่อมเกิดขึ้นด้วยย่อม
ดับด้วย ส่วนกายสังขารมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ลมอัสสาสะปัสสาสะ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นแล้วใน
อุปาทขณะแห่งจิตย่อมตั้งอยู่ตราบเท่าที่จิต 16 ดวง เหล่าอื่นอีก
เกิดขึ้น.

หลายบทว่า เตสํ โสฬสนฺนํ สพฺพปจฺฉิเมน สทฺธึ
นิรุชฺฌติ
ได้แก่ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวง
ใด ย่อมดับไปพร้อมกับจิตที่ 17 จำเดิมแต่จิตนั้น ย่อมไม่ดับไปใน
อุปาทะหรือฐีติขณะแห่งจิตดวงใด ๆ และย่อมไม่เกิดขึ้นแม้ในภังคขณะ
ท่านกล่าวว่า อามนฺตา = ใช่ เพราะความดับไปในขณะหนึ่ง ๆ พร้อม
กับจิตตสังขารโดยแน่นอนว่า นี้เป็นธรรมดาของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏ-
ฐาน.
แต่ว่า ในอรรถกถาสิงหลแห่งวิภังคปกรณ์ ท่านกล่าวไว้ว่ารูป
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมดับไปในอุปาทขณะแห่งจิตดวงจิตดวงที่ 17
ดังนี้ คำกล่าวนั้นย่อมผิดจากพระบาลีนี้ ท่านกล่าวแล้วในพระบาลีว่า
" ก็บาลีนั่นแหละมีกำลังกว่าอรรถกถา " พึงถือเอาคำกล่าวนั้นเป็น
ประมาณ.

ในคำถามนี้ว่า กายสังขารย่อมเกิดแก่บุคคลใด วจีสังขาร
ก็ย่อมดับแก่บุคคลนั้นหรือ
ดังนี้ ท่านปฏิเสธว่า ไม่ใช่ เพราะ
กายสังขารย่อมเกิดขึ้นในอุปาทขณะแห่งจิต แต่วิตกวิจารย่อมดับไปใน
ขณะนั้นหามิได้ พึงทราบวินิจฉัยในที่ทั้งปวงโดยนัยมุขนี้ปริญญาวาระ
เป็นไปโดยปกตินั่นแหละ.
อรรถกถาสังขารยมก จบ